อารยธรรมอียิปต์โบราณ

ลักษณะอารยธรรมอียิปต์โบราณ


    อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของโลกโบราณในระยะต้นนั้นส่วนใหญ่ก็คือ   อารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้งนี้เพราะการสร้างอารยธรรมในยุคแรกนั้นมีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่เนื่องจากประชากรในยุคนั้นต้องอาศัยน้ำทั้งในการดำรงชีวิตและเพื่องานเกษตรกรรม
    การคมนาคมส่วนใหญ่ก็ต้องอาศัยแม่น้ำ ด้วยเหตุนี้แหล่งอารยธรรมโบราณของโลกจึงอยู่ที่บริเวณแม่น้ำใหญ่ 4 แห่ง    คือ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์    บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส ยูเฟรตีส    บริเวณแม่น้ำสินธุ   และบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลือง
    อารยธรรมในบริเวณนี้เป็นอารยธรรมเกษตรกรรม เนื่องจากต้องอาศัยการดำรงชีวิตอยู่ใกล้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้งสิ้น

            ก. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ นักประวัติศาสตร์กรีกท่านหนึ่งคือ เฮโรโดตัส (Herodotus:484-425 B.C.) กล่าวถึงอียิปต์ว่าเป็น a  gift  of  the  Nile   เพราะถือว่าแม่น้ำไนล์นั้นคือหัวใจสำคัญที่หล่อเลี้ยงประเทศอียิปต์ เพราะตามปกติอียิปต์จะเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง เพราะล้อมรอบด้วยทะเลทราย มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในฤดูหนาว  และตกเฉพาะบริเวณเดลต้า อียิปต์จึงได้อาศัยความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์ ในราวเดือนกรกฎาคมของทุกปีน้ำจากแม่น้ำจะไหลล้นฝั่งทั้งสองและเริ่มลดลงในเดือนตุลาคมเมื่อน้ำลดลงก็จะทิ้งโคลนตมไว้บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำ โคลนตมเหล่านี้จเป็นปุ๋ยช่วยให้พืชเจริญงอกงาม  ฉะนั้น ถ้าขาดแม่น้ำไนล์เสียอียิปต์ก็จะกลายเป็นทะเลทรายที่ร้อนระอุ    ด้วยเหตุที่แม่น้ำไนล์ให้ความอุดมสมบูรณ์นี้อารยธรรมของอียิปต์จึงเป็นอารยธรรมที่เกิด
จากการเกษตรกรรม

          อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงนี้เชื่อว่าเป็นเพราะอิทธิพลของของฟาโรห์  พระองค์เท่านั้นที่รู้จักและเข้า  Ma'at     ซึ่งหมายความว่า นั่นคือ   เป็นผู้ดียวที่เข้าใจถึงความสอดคล้องต้องกันของจักรวาล     เพราะฉะนั้น การปกครองของอียิปต์ในระยะแรกจึงมาในรูปของ
กษัตริย์เทวาธิปไตย ในระหว่างที่ฟาโรห์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็จะดำรงตำแหน่งโฮรัส   (Horus)   พระบุตรของโอสิริส   (Osiris)   เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอสิริส กล่าวคือเป็นเทพโอสิริสอีกองค์หนึ่งเพราะฉะนั้นกษัตริย์อียิปต์ทุกพระองค์เมื่อได้มีทำพิธี
ฝังพระศพแล้วก็จะถูกเรียกว่าเทพโอสิริสทุกพระองค์และเมื่อนั้นก็จะมีการช่วยเหลือข้าราชบริพารของพระองค์ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ได้

           ข. ประวัติศาสตร์การเมืองของอียิปต์ นักปราชญ์ผู้ทำการศึกษาเรื่องราวของอียิปต์โดยเฉพาะคือ จอห์น เอ วิลสัน (John A. Wilson) บันทึกไว้ ว่า "การเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการต่างๆ นั้น น้ำจะเกิดขึ้นภายในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์เอง กล่าวคือ ฝูงสัตว์จากบริเวณที่สูงรวมทั้งคนด้วยคงจะล่องมาตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำหาแหล่งที่มีพืชผลอุดมสมบูรณ์ตามกันลงมาจนทั้งสองฝ่ายรู้จักกันดีขึ้นคนรู้ว่าสัตว์บางชนิดควรเลี้ยงไว้ใ่กล้สัตว์เพื่อเก็บไว้เป็นอาหารในวันหน้าพืชบางชนิดก็อาจขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากขึ้นเพื่อเลี้ยงทั้งมนุษย์และสัตว์ที่คนเลี้ยงไว้ด้วย"

      อียิปต์โบราณ หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์นี้เอง เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก กล่าวคือเมื่อประมาณ 6000 ปีมาแล้วประชาชนบริเวณนี้ได้เริ่มเรียนรู้วิธีที่จะเอาชนะธรรมชาติและนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ มีรัฐบาลที่เป็นระเบียบมีความมั่นคงอุดมสมบูรณ์  ตลอดจนมีศิลปและวรรณคดีชั้นสูง อารยธรรมนี้ก็เจริญและยั่งยืนอยู่เป็นเวลานานสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อารยธรรมเจริญอยู่เป็นเวลานานก็เพราะสภาพภูมิประเทศ
          1. การที่อิยิปต์ล้อมรอบด้วยทะเลทรายทั้งทางทิศตะวันตก และทิศตะวันออกตลอดจนการที่แม่น้ำไนล์มี แก่งโจน(Catarats)ตั้งแต่ปากน้ำจนสุดสายแม่น้ำซึ่งยาวประมาณ 700 ไมล์ ทำให้เป็นการยากแก่ศัตรูภายนอกที่จะเข้ารุกรานมีทางเดียวเท่านั้นที่ศรัตรูจะเข้ามารุกรานอียิปต์ได้คือเดลต้าที่เชื่อมทวีปอัฟริกากับเอเซียคือตรงบริเวณทะเลแดง แต่ก็ป้องกันได้ง่าย

          2. การที่แม่น้ำไนล์ท่วมฝั่งทุกปีทำให้ประชาชนที่เข้าอยู่บริเวณนี้ต้องพยายามหาทางที่จะเอาชนะธรรมชาติจึงเกิดความร่วมมือกันทำงาน เช่นมีการชลประทานมีการขุดคูส่งน้ำเมื่อมีคนมาอยู่มากก็ต้องมีรัฐบาลปกครองเพื่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุข นอกจากนี้ความอุดมสมบูรณ์ที่ได้รับจากแม่น้ำไนล์ก็ยังมีส่วนทำให้ชาวอียิปต์มีจิตใจที่จะคิดค้นและสร้างสมศิลปวัฒนธรรมและวรรรณคดีต่างๆ



                 


สภาพสังคม



       อียิปต์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาในสมัยโบราณบริเวณที่ีมีผู้คนอาศัยอยู่ได้แก่ ดินแดนที่อยู่บนสองฟากฝั่งแม่น้ำไนล์ ทิศเหนือคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน   ทิศตะวันออกคือทะเลแดง   ทิศใต้คือประเทศนูเบียหรือซูดานในปัจจุบันส่วนทิศตะวันตกคือทะเลทรายซะฮารา    อียิปต์โบราณประกอบด้วยบริเวณสองแห่งคืออียิปต์บน   (Upper   Egypt)    และอียิปต์ล่าง  (Lower  Egypt)
อียิปต์บนได้แก่บริเวณที่มีแม่น้ำไนล์ ไหลผ่านหุบเขา มีความยาวประมาณ 500ไมล์ ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตาเต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง มีเนินทรายสีแดงและสีเหลืองเป็นตอนๆ อียิปต์ล่างได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัดไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน   บริเวณนี้ชาวกรีกโบราณเรียกว่า    เดลต้า เป็นบริเวณปลายสุดของลำน้ำมีความยาวประมาณ 200 ไมล์และกว้างระหว่าง 6-22 ไมล์ อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขึ้นในบริเวณแถบเดลต้านี้


     อียิปต์เป็นดินแดนกันดารฝน   แต่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์ซึ่งได้รับน้ำอันเกิดจากหิมะละลาย  และฝนในฤดูร้อนจากภูเขาในอบิสสิเนีย  น้ำจะไหลบ่าลงมาตามแม่น้ำ   ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมจนถึงตุลาคมทำให้สองฝั่งแม่น้ำไนล์จมอยู่ใต้น้ำเป็นบริเวณกว้างเมื่อน้ำลดโคลนตมที่น้ำพัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
     ความอุดมสมบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำไนล์ได้มาจากตะกอนโคลนตมอันอุดมด้วยปุ๋ย     ซึ่งน้ำที่ท่วมประจำปีนำมาทิ้งไว้เช่นเดียวกับบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำไทกรีส    และยูเฟรตีส ของเมโสโปเตเมียพัฒนาการของอารยธรรมก็ค่อนข้างจะเป็นไปตามแบบแผนเดียวกัน      กล่าวคือ  มีการร่วมแรงกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม สร้างทำนบกั้นน้ำ      ขุดคูน้ำไปยังดินแดนที่ห่างไกลออกไปแต่ทว่าพัฒนาการ
ทางการเมืองของอียิปต์แตกต่างจากเมโสโปเตเมีย     กล่าวคืออียิปต์ได้แบ่งแยกเป็นนครรัฐอิสระอย่างในเมโสโปเตเมีย     หากแต่ร่วม  กันเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของบุคคลเดียวคือกษัตริย์ซึ่งอียิปต์เรียกว่าฟาโรห์ (Pharaoh)






     สภาพสังคม สังคมอียิปต์โบราณเปรียบได้กับรูปสามเหลี่ยมจัดแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ
              1. กษัตริย์และราชวงศ์ถูกกำหนดให้อยู่ในตำแหน่งสูงสุด กษัตริย์สามารถมีมเหสีและสนมได้มากมาย ตลอดจนสนมอาจเป็นพี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกับมนุษย์
              2. พระและขุนนาง มีบทบาททางด้านศาสนาและการปกครอง ชนทั้งสองกลุ่มนี้จัดเป็นชนชั้นสูงรองจากกษัตริย์
              3. ชนชั้นกลาง ได้แก่ พ่อค้า ช่างฝีมือและศิลปิน
              4. ชนชั้นต่ำ ได้แก่ ชาวนาซึ่งจัดเป็นชนชั้นส่วนใหญ่ของดินแดนสภาพของชาวนาอยู่ในรูปข้าติดที่ดิน ชาวนาเป็นกำลังสำคัญในกองทัพและเป็นแรงงานหลักในการสาธารณะประโยชน์
              5. ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดถูกกวาดต้อนมาภายหลังพ่ายแพ้สงคราม






ราชวงค์อียิปต์โบราณ





1 ปลายยุคก่อนราชวงศ์ ราว 3100 ปีก่อน ค.ศ. 
2 ราชวงศ์ต้นๆ ราว 2950-2575 ปีก่อน ค.ศ. 
    2.1 ราชวงศ์ที่หนึ่ง 
    2.2 ราชวงศ์ที่สอง 
    2.3 ราชวงศ์ที่สาม 
3 ราชอาณาจักรเก่า ราว 2575-2510 ปีก่อน ค.ศ. 
    3.1 ราชวงศ์ที่สี่ 
    3.2 ราชวงศ์ที่ห้า 
    3.3 ราชวงศ์ที่หก 
    3.4 ราชวงศ์ที่เจ็ดและแปด 
4 ช่วงต่อที่หนึ่ง ราว 2125-1975 ปีก่อน ค.ศ. 
    4.1 ราชวงศ์ที่เก้าและสิบ 
    4.2 ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด 
5 ราชอาณาจักรกลาง ราว 1975-1640 ปีก่อน ค.ศ. 
    5.1 ราชวงศ์ที่สิบสอง 
    5.2 ราชวงศ์ที่สิบสาม 
6 ช่วงต่อที่สอง ราว 1630-1520 ปีก่อน ค.ศ. 
    6.1 ราชวงศ์ที่สิบสี่ 
    6.2 ราชวงศ์ที่สิบห้าและสิบหก 
    6.3 ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด 
7 ราชอาณาจักรใหม่ ราว 1539-1075 ปีก่อน ค.ศ. 
    7.1 ราชวงศ์ที่สิบแปด 
    7.2 ราชวงศ์ที่สิบเก้า 
    7.3 ราชวงศ์ที่ยี่สิบ 
8 ช่วงต่อที่สาม ราว 1075-715 ปีก่อน ค.ศ. 
    8.1 ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด 
    8.2 ราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง 
    8.3 ราชวงศ์ที่ยี่สิบสาม 
    8.4 ราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่ 
    8.5 ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า 
9 ยุคปลาย ราว 715-332 ปีก่อน ค.ศ. 
    9.1 ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก 
    9.2 ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด 
    9.3 ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปด 
    9.4 ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้า 
    9.5 ราชวงศ์ที่สามสิบ 
    9.6 ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด 
10 ยุคกรีก-โรมัน ราว 332 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 395 
    10.1 ราชวงศ์มาซิโดเนีย ราว 332-305 ปีก่อนคริสตกาล 
    10.2 ราชวงศ์ที่ปโตเลมี ราว 305-30 ปีก่อนคริสตกาล


การประกอบอาชีพ
         การประกอบอาชีพ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ
              1. การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์จัดเป็นอาชีพหลัก เริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ 4000 B.C. อาชีพดังกล่าวนิยมทำแถบลุ่มน้ำไนล์ พืชที่นิยมปลูกคือข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ต้นแฟล็กซ์ตลอดจนผลไม้ต่างๆ เป็นต้น
              2. การค้า เริ่มปรากฎเมื่อประมาณ 4000 B.C. โดยนิยมทำการค้ากับคนในแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมโสโปเตเมีย และอาระเบีย เป็นต้น
              3. การทำเหมืองแร่ ทองแดงเป็นแร่ธาตุที่ชาวอียิปต์เริ่มขุดมาเมื่อประมาณ 4000 B.C. โดยทำกันในแถบไซนาย พลอยและทองคำขุดบริเวณเทือกเขาตะวันออก
              4. งานฝีมือ ได้แก่งาน ปั้น งานหล่อ งานทอผ้า เป็นต้น

                              
ข้าวคามุท

การปกครอง
         การปกครอง ลักษณะการปกครองเป็นแบบเทวธิปไตย (Theocracy) กล่าวคือ ผู้ปกครองอ้างดำเนินการปกครองในนามหรืออาศัยอำนาจของเทพเจ้าเพื่อใช้ในการปกครองกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการปกครองได้แก่
              1. กษัตริย์หรือฟาโรห์ (Pharaoh) ฟาโรห์ เป็นผู้ที่ชาวอียิปต์โบราณยอมรับว่าเป็นเทพเจ้าและเป็นกษัตริย์ในเวลาเดียวกัน หน้าที่ของฟาโรห์คือเป็นผู้นำทางการปกครองและศาสนา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการปกครองเกิดจากการกำหนดขึ้นของกษัตริย์ผู้เป็นเจ้าของชีวิตของชาว
อียิปต์โบราณ


              2. ขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือวิเชียร (Vizier) เป็นตำแหน่งใช้เรียกผู้บริหารที่สำคัญรองจากกษัตริย์ ตำแหน่งนี้ในสมัยราชวงศ์ต้นสงวนเฉพาะสำหรับราชโอรส แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงตกทอดแก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่และมีการสืบทอดแก่คนในตระกูลเดียวกัน
              3. ขุนนาง (Noble) ทำหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานที่สำคัญ เช่น ในการเก็บภาษีและการชลประทาน เป็นต้น
              4. ขุนนางมณฑลหรือผู้ว่าการมณฑลหรือโนมาร์ซ (Nomarch) เป็นตำแหน่งข้าหลวงประจำตามมณฑลหรือเมืองที่ห่างไกลจากเมืองหลวง มณฑลหรือเขตนั้นเรียกว่านอม (Nome)ขุนนางประเภทนี้มักก่อกบฎว่าวุ่นวายและเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อาณาจักรสมัยต่างๆ ในอดีตต้องเสื่อมลง

ศาสนา
         ศาสนา เรื่องของศาสนาอียิปต์โบราณนั้นควรกล่าวในลักษณะ 3 ประเด็น
              1. ชาวอียิปต์โบราณเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ เพราะความหวาดกลัวเชื่อและบูชาในปรากฎการณ์ธรรมชาติทำให้ชาวอียิปต์โบราณกำหนดเทพเจ้าขึ้นมากมาย ลักษณะเทพเจ้าในช่วงแรกนั้นมีรูปร่างเป็นสัตว์มากกว่ามนุษย์ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปร่างเทพเจ้าให้ดีขึ้น แต่เพราะชาติอียิปต์โบราณเกิดจาการรวมตัวของหลายชุมชน ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้เทพเจ้าของอียิปต์โบราณมีมากมายหลายองค์เทพเจ้าที่สำคัญคือ
                  เทพเจ้าอะมอน-เร (Amon-Re) เป็นเทพเจ้าที่สูงสุดในมวลเทพเจ้าทั้งหลาย ของอียิปต์โบราณ เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและชีวิต ชื่อเทพเจ้าองค์นี้เกิดจากการนำเทพเจ้าอะมอนซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งอากาศและความอุดมสมบูรณ์ของเมืองธีปส์ มารวมกับเทพเจ้าเรซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ของเมืองเฮลิโอโปลิส ได้เป็นเทพเจ้าอะมอน-เร ผู้ทรงพลังและอิทธิฤทธิ์
                  เทพเจ้าโอซิริส (Osiris) เป็นเทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำไนล์ เทพเจ้าแห่งความตาย และเทพเจ้าแห่งการตัดสินภายการตายเพื่อการเข้าสู่ภายหน้า
                  เทพเจ้าไอริส (Isis) คือ เทพีผู้เป็นมเหสีของเทพเจ้าโอซิริส เป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์
                  เทพเจ้าโฮรัส (Horus) เป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์ของชาวอียิปต์โบราณแถบดินแดนสามเหลี่ยม
                  ชาวอียิปต์โบราณมีความเชื่อว่าเทพเจ้าแต่ละองค์ควรมีสัตว์ไว้คอยรับใช้ดังนั้นจึงมีการสมมติสัตว์รับใช้ดังกล่าวให้เทพเจ้า เช่น แกะตัวผู้เป็นสัตว์รับใช้ของเทพเจ้าอะมอน-เร เป็นต้น สำหรับเรื่องการบวงสรวงนั้นพระเป็นผู้ประกอบพิธี และได้รับค่าจ้างตอบแทน


              2. ชาวอียิปต์โบราณเชื่อในความเป็นอมตะของวิญญาณ คำตัดสินครั้งสุดท้ายและโลกหน้า ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าภายหลังความตายที่ทำความดีจะฟื้นขึ้นมาและเข้าพำนักในโลกหน้าซึ่งน่าอยู่และอุดมสมบูรณ์เช่นอียิปต์ จากความเชื่อนี้ทำให้เกิดการเก็บรักษาไว้เรียกว่า มัมมี่ (Mummy) มัมมี่นิยมทำเฉพาะกับกษัตริย์ คนธรรมดาจะฝังเท่านั้น มัมมี่จะถูกนำไปวางลงในหีบศพพร้อมม้วนกระดาษรู้จักในนามคัมภีร์ผู้ตาย (Book of the Dead)(1) คัมภีร์ผู้ตายที่ถูกต้องนั้นต้องเขียนโดยพระ ข้อความในคัมภีร์นั้นล้วนชี้แจงว่าผู้ตายกระทำดีเป็นหลักในโลกมนุษย์ทำชั่วบ้างเล็กน้อย เทพเจ้าโอซิริสเป็นผู้พิจารณาและดำเนินการตัดสินครั้งสุดท้ายถึงการให้วิญญาณดังกล่าวเข้าสู่โลกหน้าที่สมบูรณ์ได้หรือไม่ หีบศพและสมบัติของผู้ตายจะถูกนำวางไว้สุสานหินเรียก ปิรามิด (Pyramid) สฟิงค์ (Sphinx) เป็นสัตว์ประหลาดที่แกะสลักจากหินนำวางไว้หน้าปิรามิดเพื่อทำหน้าที่เฝ้าศพและสมบัติของผู้ตายที่บรรจุไว้ในปิรามิด


              3. ศาสนาของกษัตริย์อเมนโฮเต็ปที่ 4 จุดประสงค์ในการปฏิรูปศาสนาของอะเมนโฮเต็ปที่ 4 คือ การมุ่งนำชาวอียิปต์โบราณให้พ้นจากความเชื่อในศาสนาอียิปต์โบราณที่บูชาในเทพเจ้าหลายองค์ (Polytheism) และมุ่งนำชาวอียิปต์โบราณให้พ้นจากอำนาจของพระ ศาสนาใหม่ของอะเมนโฮเต็ปกำหนดให้บูชาเฉพาะเทพเจ้าอะตัน (Aton) เพียงองค์เดียว ทรงสอนว่าเทพเจ้าอะตันเป็นเทพเจ้าสูงสุด ไม่มีตัวตนเป็นบิดาของมนุษย์ การเข้าถึงเทพเจ้าอะตันทำได้โดยสักการะด้วยดอกไม้ของหอมมิใช่ทำสงครามหรือทำพิธีบวงสรวงด้วยชีวิตสัตว์ ทรงสั่งปิดวิหารของเทพเจ้าทั้งหลายทรงปฎิเสธความเชื่อเรื่องการฟื้นจากความตายและโลกหน้า ทรงปฏิเสธการทำสงครามกับศัตรู เพราะทรงเชื่อว่าเทพเจ้าอะตันคือบิดาของมวลมนุษย์และการทำสงครามจะทำให้เทพเจ้าอะตันไม่พอใจ เพื่อแสดงความศรัทธาในเทพเจ้าอะตันทรงเปลี่ยนพระนามพระองค์เป็น อัคนาตัน (Akhanaton) ทรงย้ายเมืองหลวงจากธีปส์ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองและศาสนาของเทพเจ้าอะมอน-เร มาอยู่ที่เมืองอัคตาตัน (Akhatatton or Amarna) ห่างจากธีปส์ขึ้นไปทางเหนือประมาณร้อยไมล์ การปฏิรูปศาสนาของพระองค์ทำให้เกิดผลเสียทั้งภายในจักรวรรดิ์และภายนอกจักรวรรดิ์กล่าวคือพระในเทพเจ้าอะมอน-เร โดยเฉพาะที่เมืองธีปส์ตั้งตนเป็นศัตรูเพราะพระพวกนี้ขาดรายได้ และสถานภาพของพระที่เคยได้รับจากสังคมอียิปต์โบราณต้องลดน้อยลง และอียิปต์เองต้องเสียดินแดนซีเรียกับปาเลสไตน์ให้แก่ฮิตไตท์

ศิลปการเขียน

              ศิลปการเขียนของอียิปต์โบราณเริ่มเมื่อประมาณ 300 B.C. การบันทึกทำเป็นอักษรภาพ รู้จักในนามอักษรภาพเฮียโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ต่อมาเพื่อให้การเขียนง่ายขึ้นไม่สลับซับซ้อน ได้พัฒนาการเขียนให้มีตัวอักษรภาพน้อยลงเรียกอักษรเฮราติค (Hieratic) ภารเขียนทั้งสองแบบนี้เขียนได้ในหมู่พระเท่านั้น ในประมาณศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลได้มีการพัฒนาการเขียนให้ดีขึ้นกว่าเดิมมุ่งให้เขียนง่ายขึ้น ตัวอักษรภาพลดจำนวนน้อยลงและจำนวนผู้ที่สามารถเขียนได้มากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวทำให้อักษรภาพลดเหลือเพียง 24 ตัว เรียกตัวอักษรเดโมติค (Demotic) นอกเหนือจากการจารึกบนแผ่นหินแล้วชาวอียิปต์โบราณเป็นพวกที่คิดทำกระดาษขึ้นโดยทำจากเยื่อต้นอ้อ (Papyrus) โดยนำต้นอ้อที่มีขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำไนล์มาลอกเอาเยื่อออกวางซ้อนกันตากให้แห้งกลายเป็นกระดาษ ก้านอ้อแข็งคืออุปกรณ์ที่ใช้เขียน ยางไม้ผสมสีใช้เป็นหมึก จากชัยชนะในการเขียนและการค้า ทำให้ศิลปการเขียนของอียิปต์แพร่หลายออกไป
อักษรภาพไฮราติกของ 2,765






       ตราบใดที่ยังมีมนุษย์ การพัฒนาย่อมไม่หยุดยั้ง ตัวเลขเองก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพื่อให้
สอดคล้องกับความเหมาะสมในการใช้งาน ของแต่ละอารยธรรม







อักษรภาพไฮโรกลิฟ








       ในช่วงที่อียิปต์โบราณรุ่งเรือง 2000 กว่าปีนั้น อักษรภาพไฮโรกลิฟ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปตาม
ยุคตามสมัยต่อมาชาวอียิปต์โบราณเห็นว่าการเขียนแบบไฮโรกลิฟนั้น   ไม่กระชับ   จึงพัฒนา
สัญลักษณ์แบบ ไฮราติก  (Hieratic) ขึ้นดังแสดงในรูปที่   3   ตัวเลขแบบไฮราติกนั้น ต้องใช้
ความจำมากขึ้น เพราะมีสัญลักษณ์ทั้งหมด 36 ตัว (จากเดิมที่มีอักษรภาพเพียง 7 ตัว) แต่ข้อดี
ก็คือ   เมื่อนำไปเขียนเป็นตัวเลข   วิธีใหม่นี้สามารถลดจำนวนสัญลักษณ์ลง   จากเดิมตัวเลข
9,999 ต้องใช้อักษรภาพ 36 ตัว ก็เหลือใช้สัญลักษณ์แบบไฮราติก  เพียง 4 ตัวเท่านั้น สำหรับ
ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง  สัญลักษณ์แบบไฮราติก    และระบบจำนวนที่พวกเราใช้กันอยู่ใน
ปัจจุบันนั้นก็คือ ตำแหน่งของสัญลักษณ์แบบ ไฮราติก   ไม่มีผลต่อค่าของตัวเลข ดังรูปที่ 4 ซึ่ง
มีค่าเท่ากันคือ 2,765
ด้านวิทยาศาสตร์
         ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ของอียิปต์โบราณที่ควรกล่าวถึง คือ
              1. การทำปฏิทิน อียิปต์โบราณรู้จักการทำปฏิทินโดยยึดหลักสุริยคติกล่าวคือ 1 ปีมี 12 เดือน 30 วัน อีก 5 วันสุดท้ายถูกกำหนดเพื่อการเฉลิมฉลองการกำหนดฤดูถือตามหลักความเป็นไปของธรรมชาติและการเพาะปลูก 1 ปีมี 3ฤดูๆละ 4 เดือน เริ่มจากฤดูน้ำท่วมหรือน้ำหลาก (The Flood of River Nite) ฤดูที่สองคือ ฤดูเพาะปลูกหรือไถหว่าน (The Period of Cultivation) ฤดูที่สามคือ ฤดูเก็บเกี่ยวพืชผล (The Period of Havesting) การที่ชาวอียิปต์โบราณรู้จักการทำปฏิทินนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ชัดความเจริญและความสามารถโดยแท้จริง
              2. การแพทย์ มัมมี่มีส่วนชี้ให้เห็นถึงความสวยงามทางการแพทย์ของอียิปต์โบราณซึ่งแอ็ดวินสมิธเป็นผู้พบข้อความทั้งหมดถูกบันทึกไว้เมื่อประมาณปี 1600 ระบุแสดงความสามารถของแพทย์อียิปต์โบราณด้านการผ่าตัดกระโหลก ผ่าตัดกระดูกสันหลัง การวิจัยและรักษาโรคต่างๆ







     ในสมัยอียิปต์โบราณ เมื่อมีคนตายก็จะนำศพไป ฝังไว้ในทะเลทราย อันร้อนระอุ ความร้อน และความแห้งแล้งทำให้ร่างกายแห้งอย่างรวดเร็ว โดยที่แบคทีเรียไม่มีโอกาสได้ย่อยสลายศพเสียก่อน จึงกลายเป็นมัมมี่ไปตามธรรมชาติ คงจะมีการค้นพบโดยบังเอิญ…

     ต่อมาชาวอียิปต์ก็เริ่มใช้ โลงบรรจุศพ ก่อนฝัง เพื่อป้องกันมิให้สัตว์ป่าแทะกินศพ แต่ก็กลับพบว่า ซากศพที่ฝังในโลง ได้เปื่อยเน่าไป ไม่แห้งและอยู่คงทนเหมือนแต่ก่อน เพราะโลงศพทำหน้าที่เก็บกักความชื้นจากร่างกาย เพียงพอที่จะอำนวยให้แบคทีเรียเจริญเติบโต และทำการย่อยสลายให้ศพเน่าเปื่อยสูญไปได้

     ต่อมาอีกหลายร้อยปี ชาวอียิปต์ก็ได้ศึกษาทดลองวิธีต่าง ๆ เพื่อที่จะรักษาสภาพศพให้คงทนอยู่ได้ กรรมวิธีในการรักษาศพให้คงทน ประกอบด้วยการแช่อาบศพด้วยสิ่งที่ชะงักการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แล้วพันด้วยแถบผ้าลินิน ปัจจุบันเราเรียกกรรมวิธีนี้ว่า การทำมัมมี่

            ขั้นตอนการทำมัมมี่ มีอยู่ 13 ขั้นตอน ดังนี้

   ขั้นตอนที่ 1

        ศพถูกนำไปยังเต๊นท์พิเศษ ที่เรียกว่า อีบู ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่ชำระศพให้บริสุทธิ์ ผู้ทำมัมมี่จะอาบศพด้วยเหล้าที่ทำจากน้ำตาลสด และชำระล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์

    ขั้นตอนที่ 2

         ช่างก็จะผ่าช่องท้องด้านซ้ายเพื่อเอาอวัยวะภายในออก เนื่องด้วยอวัยวะภายใน ซึ่งมีความชื้นสูง จะเป็นสิ่งแรกที่เน่าสลายอย่างรวดเร็ว จึงต้องเอาออก เหลือไว้แต่หัวใจที่จะทิ้งไว้ภายในศพ เพราะพวกเขาเชื่อว่า หัวใจคือศูนย์รวมแห่งปัญญาและความรับรู้ทั้งปวง ที่ผู้ตายยังต้องการใช้ในโลกแห่งวิญญาณ

    ขั้นตอนที่ 3

         ส่วน ตับ ปอด กระเพาะ และลำไส้ จะถูกนำมาชำระล้างจนสะอาด แล้วนำไปกลบไว้ด้วยเกลือเม็ดที่เรียกว่า Natron ซึ่งเป็นเกลือโซเดียมคาร์บอร์เนต

         แล้วเขาจะสอดตะขอผ่านเข้าทางช่องจมูก เพื่อเกี่ยวเอาเนื้อสมองออกมาเพราะสมองก็เหมือนอวัยวะภายในที่มีความชื้นสูง ถ้าทิ้งไว้จะทำให้แห้งยาก และก่อให้เกิดการย่อยสลายได้ง่าย

   ขั้นตอนที่ 4

         จากนั้นก็เอาศพไปวางกลบด้วยเกลือเม็ดให้แห้ง ของเหลวจากร่างกาย และผ้าที่ใช้ในการเตรียมศพทุกชิ้น ก็จะเก็บรักษาไว้อย่างดี เพื่อนำไปฝังพร้อมกับศพ

  ขั้นตอนที่ 5

       ช่องว่างภายในก็ใส่เกลือเม็ดไว้ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย อันจะทำให้ร่างเปื่อยเน่าสูญสลายไปได้

   ขั้นตอนที่ 6

       ศพจะถูกแช่เกลือไว้สี่สิบวันจนแห้งดี แล้วจะถูกนำมาชำระล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์อีก แล้วจะเคลือบผิวหนังด้วยน้ำมันเพื่อให้ผิวหนังคงสภาพอ่อนนุ่มไม่แห้งกระด้างไปตามกาล
เวลา

   ขั้นตอนที่ 7

       อวัยวะภายในที่แห้งแล้วจากการแช่เกลือ ก็จะถูกนำกลับมาบรรจุในช่องท้องและช่องอกตามเดิม

   ขั้นตอนที่ 8

       แล้วจะเติมด้วยของแห้งอย่างอื่นให้เต็ม เช่นขี้เลื่อยหรือใบไม้และผ้าลินิน เพื่อให้ดูเหมือนยามมีชีวิตอยู่ ไม่ยุบตัวลงไปตามกาลเวลาในภายหลัง

   ขั้นตอนที่ 9

      จากนั้นก็จะชำระศพด้วยน้ำมันหอมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำไปพันผ้าลินินในขั้นต่อไปการพันห่อมัมมี่

     ขั้นแรก ศีรษะและลำคอจะถูกพันก่อน ด้วยแถบผ้าลินินอย่างดี แล้วก็จะพันนิ้วมือและนิ้วเท้าแยกกันทีละนิ้ว แล้วก็พันห่อแขนและขา แต่ละทบก็จะใส่เครื่องราง เพื่อปกปักรักษาผู้ตายในระหว่างการเดินทางไปสู่ภพใหม่


   ขั้นตอนที่ 10

        ในขณะที่ร่างของมัมมี่กำลังถูกห่อพันด้วยผ้าลินิน ก็จะมีพระท่องมนต์ เพื่อขจัดสิ่งที่เลวร้ายมิให้แผ้วพานผู้ตาย และเป็นการช่วยให้ผู้ตายเดินทางได้สะดวกในภพหน้า



    ขั้นตอนที่ 11

        แล้วแขนขามัมมี่ก็จะถูกพันเข้ากับส่วนร่าง ตำรา “มนตราสำหรับผู้ตาย” ก็จะรวมห่อไปด้วยให้ถือไว้ในมือของมัมมี่

   ขั้นตอนที่ 12

        จากนั้นก็จะพันผ้าเพิ่มรวมให้ร่างถูกพันรวมกันหมด แต่ละชั้นของผ้าลินิน ผู้ทำมัมมี่ก็จะทาไว้ด้วยเรซิน เพื่อให้ผ้าลินินยึดติดกันไม่หลุดรุ่ยออกได้ง่าย แล้วห่อด้วยผ้าผืนใหญ่อีกทีหนึ่ง จากนั้นก็จะวาดรูปเทพ โอซีรีส บนผ้าที่ห่อมัมมี่นั้น

   ขั้นตอนที่ 13

        จากนั้นก็เอาผ้าผืนใหญ่ห่ออีกชั้นหนึ่ง แล้วมัดตราสังข์ด้วยแถบผ้าลินินตลอดร่างอย่างแน่นหนาอีกเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นก็ปิดด้านบนของมัมมี่ด้วยแผ่นกระดานก่อนที่จะเอาไปใส่ในโลงศพสองโลงซ้อนกัน ในพิธีศพ ญาติพี่น้องของผู้ตายมาไว้อาลัยและทำพิธี “เปิดปากศพ” เพื่อเป็นการเลี้ยงอาหารให้ผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย

       ขั้นสุดท้าย ก็จะเอาโลงไปใส่ในโลงหินแกะสลัก ที่ตั้งอยู่ในสถานเก็บศพพร้อมด้วยเครื่องเรือน เสื้อผ้า ของมีค่า อาหารและเครื่องดื่ม จะถูกจัดวางไว้อย่างพร้อมเพรียง เป็นเสบียงกรังให้ผู้ตายได้เดินทางสู่ปรภพโดยสะดวก

       แล้วร่างของผู้ตาย ก็พร้อมที่จะออกเดินทางสู่ดินแดนใต้โลก ที่ที่หัวใจของเขาจะถูกตัดสินตามความดีที่ได้ทำไว้ยามมีชีวิตอยู่ หากมีหัวใจบริสุทธิ์จริง ผู้ตายก็จะถูกส่งไปดินแดนอันสวยงามเพื่อชีวิตอันเป็นอมตะ ในดินแดนที่เรียกว่า ทุ่งต้นกก

       ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า ก่อนผู้ตายจะไปยังปรภพได้ ก็ต้องผ่านดินแดนใต้โลก อันเป็นที่ที่เต็มไปด้วยมารร้าย สัตว์ที่ดุร้ายต่าง ๆ ซึ่งผู้ตายจะต้องอาศัยมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อปกป้องให้เดินทางได้โดยปราศจากภัยร้ายมาแผ้วพาน มนตราเหล่านี้จารึกอยู่ในสมุดบันทึกที่เรียกว่า “มนตราสำหรับผู้ตาย” ซึ่งเป็นตำราเขียนลงบนม้วนกระดาษปาปีรุส และจะถูกฝังไปด้วยกันกับผู้ตายในปิรามิด และก็เป็นการเสร็จสิ้นวิธีการทำมัมมี่…


ด้านสถาปัตยกรรม
         ชาวอียิปต์โบราณเป็นหนึ่งในกลุ่มนักสร้างถาวรวัตถุผู้ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ ผลงานเกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์แขนงเรขาคณิตและคณิตศาสตร์บวกกับความสามารถและความชำนาญ ความสามารถและความเด็ดขาดของผู้นำ ผลงานเด่นทางสถาปัตยกรรมที่ควรแก่การกล่าวถึงเช่น
              1. ปิรามิดยักษ์ที่เมืองกิซา พีระมิดแห่งเมืองกิซาเป็นสิ่งก่อสร้างรูปกรวยเหลี่ยมสำหรับเป็นที่เก็บศพกษัตริย์อียิปต์โบราณ ในอียิปต์มีอยู่มากแห่งด้วยกัน แต่พีระมิดองค์ที่ใหญ่ที่สุดน่ามหัศจรรย์ที่สุดคือ พีระมิดแห่งเมืองกิซา ซึ่งใช้เป็นที่บรรจุพระศพของพระเจ้าคีออปส์ (Cheops) หรือเรียกอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าคูฟู
              พีระมิดนี้อยู่กลางทะเลทรายนอกกรุงไคโร เมืองหลวงของอียิปต์ ออกไปประมาณ 4 ไมล์ วัดส่วนสูงได้ 432 ฟุต ฐานกว้าง 768 ฟุต ใช้หินทรายตัดเป็นแท่งๆ หนักก้อนละ 2 ตันครึ่ง บางก้อนหนักถึง 16 ตัน ใช้ก้อนหินไม่น้อยกว่า 2,500,000 ก้อน หนักกว่า 6 ล้านก้อน ฐานกินเนื้อที่ถึง 12 เอเคอร์ หรือประมาณ 20 ไร่ ใช้แรงงานกรรมกรไม่น้อยกว่า 100,000 คน ก่อสร้างอยู่ 10 ปีจึงเสร็จ
              นอกจากความใหญ่โตอันน่ามหัศจรรย์ของปิระมิดองค์นี้แล้ว การก่อสร้างให้สำเร็จยังน่ามหัศจรรย์ยิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าถ้าทราบว่าหินเหล่านี้ต้องสกัดออกมาจากภูเขาที่อยู่ไกลโพ้น แล้วลากมาสู้ฝั่งแม่น้ำไนล์ ล่องลงมาเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ จึงมาถึงจุใกล้สิ่งก่อสร้าง แล้วชักลากผ่านทะเลทรายไปถึงที่ก่อสร้างต้องแต่สลักเป็นแท่งสี่เหลี่ยม แล้วยกวางซ้อนขึ้นไปจนสูงถึง 432 ฟุต

 




หลักการของพีระมิด

         วัตถุรูปทรงพีระมิดนี้เป็นรูปทรงที่ต้องกล่าวว่า แฝงความพิสดารของการใช้งานเอาไว้อย่างมากมาย โดยคุณสมบัติสำคัญที่เกิดตามธรรมชาติของรูปทรงก็คือ สามารถหักเหเส้นทางการเคลื่อนที่ของเส้นแรงแม่เหล็กได้ สามารถจัดระเบียบหรือจัดการเรียงตัวของเส้นแรงแม่เหล็กให้เป็นระเบียบได้ สามารถเหนี่ยวนำพลังลมปราณให้มารวมตัวกันภายในรูปทรงและบริเวณใกล้เคียงได้ดีมาก
          กล่าวคือเมื่อเส้นแรงแม่เหล็กพุ่งเข้ามาชนวัตถุรูปทรงพีระมิดแทนที่จะเคลื่อนทะลุผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งทั้งหมด กลับถูกลักษณะของรูปทรงหักเหเส้นทางการเคลื่อนที่ให้เคลื่อนเบี่ยงเบนไปจากเส้นทางเดิม เส้นแรงแม่เหล็กที่พุ่งเข้ามาส่วนใหญ่จะถูกบังคับให้เคลื่อนขึ้นไปยังบริเวณยอดแหลมของพีระมิด แล้วพุ่งออกไปตรงบริเวณยอดแหลมของพีระมิดนั้น โดยในขณะที่เส้นแรงเคลื่อนเข้าสู่พีระมิดก็จะถูกจัดเรียงให้เคลื่อนตัวอย่างเป็นระเบียบ ลักษณะการเคลื่อนตัวก็จะมีรูปลักษณ์ทั้งที่เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง และหมุนเป็นเกลียวแตกต่างกันไปตามแง่มุมและระยะความลึกภายในรูปทรงพีระมิดนั้น การที่รูปทรงพีระมิดสามารถหักเหเส้นทางการเคลื่อนที่ของเส้นแรงแม่เหล็ก จัดระเบียบการเคลื่อนที่ และเหนี่ยวนำลมปราณได้ดี ก็เพราะ รูปทรงพีระมิดเป็นรูปทรงที่ไม่มีจุดศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างกับรูปทรงกลมที่ภายในทรงกลมจะมีจุดศูนย์กลางอยู่ ซึ่งเป็นจุดที่เมื่อวัดระยะจากขอบของรูปทรงจากทุก 360 องศาสามมิติ คือ ทั้งมิติด้านกว้าง ยาว ลึก เมื่อวัดระยะเข้ามาหาจุดศูนย์กลางแล้วจะมีระยะทางเท่ากันหมด ลักษณะของรูปทรงกลมเช่นนี้ ณ.จุดศูนย์กลาง พลังงานชนิดต่างๆสามารถมาหยุดรวมตัวกันได้ดีที่ สุด เพราะเป็นจุดศูนย์รวมแรงดึงดูดของรูปทรงและเป็นจุดศูนย์ถ่วงด้วย แต่รูปทรงพีระมิดไม่มีจุดเช่นนี้ที่จะมีก็คือแกนกลาง ซึ่งเป็นแกนที่เชื่อมระหว่างยอดแหลมกับจุดตัด กันของเส้นทแยงมุมที่ฐานของพีระมิด 
      แกนกลางนี้ เมื่อวัดระยะห่างระหว่างแกนกับขอบของรูปทรงแต่ละด้านแล้ว ระยะห่างจะมีค่ามากที่สุดเมื่อวัดที่ฐานของรูปทรง และจะมีค่าลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลือศูนย์ที่ยอดแหลมของพีระมิด ด้วยลักษณะของรูปทรงเช่นนี้จะไม่เกิดจุดรวมพลังงาน แต่พลังงานจะเกิดการรวมตัวกันที่แกนกลางของรูปทรง ดังนั้น เมื่อเส้นแรงแม่เหล็กเคลื่อนเข้ามาในรูปทรงพีระมิด ก็จะถูกลักษณะลาดเอียงด้านหน้าตัดของพีระมิดหักเหเส้นทางการเคลื่อนที่ ถูกบีบให้เคลื่อนสู่แกนกลางแล้ว เคลื่อนขึ้นสู่ยอดแหลมของพีระมิด ถ้าเป็นพีระมิดที่ภายในรูปทรงกลวง เส้นแรงจะเข้ามารวมตัวกันเป็นแกนอย่างหลวมๆ เกิดแกนพลังเส้นแรงแม่เหล็กที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก เพราะเส้นแรงส่วนใหญ่จะเคลื่อนไปตามบริเวณขอบของรูปทรงแล้วพุ่งขึ้นสู่ยอดแหลม แต่ถ้าเป็นรูปทรงพีระมิดที่ภายในทึบหรือตัน เส้นแรงที่เคลื่อนเข้ามารวมกันที่แกนกลางจะมีความหนาแน่นและเข้มข้นกว่าพีระมิดที่ภายในกลวง คือ ยิ่งเป็นพีระมิดที่ภายในทึบหรือตันมากเท่าใด เส้นแรงก็จะเข้ามารวมตัวที่แกนกลางมากกว่าเท่านั้น เกิดเป็นแกนพลังเส้นแรงแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นของเส้นแรงที่เคลื่อนพุ่งขึ้นสู่ยอดแหลม เกิดเป็นแกนพลังเส้นแรงแม่เหล็กที่มีความแข็งแรงขึ้น การที่เส้นแรงเคลื่อนขึ้นสู่ยอดแหลมก็เพราะที่บริเวณยอดแหลมมีปริมาณเส้นแรงพุ่งเข้ามาน้อยกว่าบริเวณฐานพีระมิด แรงดันหรือความเข้มของเส้นแรงจึงมีน้อยกว่าที่บริเวณฐานและบริเวณที่สูงจากฐานขึ้นมา แรงดันของเส้นแรงที่สะสมตั้งแต่ที่ฐานของรูปทรงจึงมีมากกว่าที่ยอดแหลม จึงขับเคลื่อนให้เส้นแรงขึ้นไปสู่ยอดแหลม ทำให้ที่ยอดแหลมกลายเป็นทางออกของเส้นแรงที่พุ่งเข้ามาในพีระมิด ส่วนบริเวณแกนกลางของรูปทรง โดยเฉพาะพีระมิดรูปทรงทึบหรือตัน ซึ่งเป็นรูปทรงที่สามารถเกิดแกนพลังได้ดีนั้น เส้นแรงแม่เหล็กที่เคลื่อนเข้ามาจะเข้ามาหมุนเป็นเกลียวที่บริเวณแกนกลาง โดยหมุนเป็นเกลียวในลักษณะทวนเข็มนาฬิกาขึ้นไปสู่ยอดแหลม เกิดเป็นแกนพลังเส้นแรงแม่เหล็กขึ้น การหมุนเป็นเกลียวของเส้นแรงแม่เหล็กบริเวณแกนกลางของรูปทรงพีระมิดนี้เองที่เป็นแรงดึงดูดให้กระแสลมปราณไหลเข้ามาสะสมอยู่ภายในพีระมิด รวมถึงเกิดการไหลเวียนของกระแสลมปราณด้วย ซึ่งทิศทางการไหลเวียนของเส้นแรงแม่เหล็กและลมปราณนี้สามารถที่จะบังคับได้ตามลักษณะการจัดวางพีระมิดด้วยคุณสมบัติของพีระมิดดังที่ได้กล่าวมา ได้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับรูปทรงพีระมิด ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากพอสมควรเกี่ยวกับความลับของรูปทรงพีระมิดต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ยากต่อการอธิบาย แต่เมื่อได้ทราบถึงคุณสมบัติของพีระมิดดังกล่าวข้างต้นแล้วก็จะสามารถอธิบายได้ เช่น มหาพีระมิดคีอ็อป ที่ เมืองกีซา ประเทศอียิปต์ พบว่าเมื่อมีสัตว์เข้ามาตายในมหาพีระมิด เช่น หนู เมื่อเข้ามาตายปรากฏว่าซากศพไม่เน่าเปื่อย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมหาพีระมิดเป็นสิ่งก่อสร้างรูป ทรงพีระมิดที่มีขนาดใหญ่มาก ด้วยเป็นวัตถุรูปทรงพีระมิดที่มีขนาดใหญ่ จึงสามารถหักเหเส้นแรงแม่เหล็กได้เป็นปริมาณมาก เส้นแรงแม่เหล็กโลกที่เคลื่อนเข้ามาชนกับมหาพีระมิดจึงถูกหักเหให้พุ่งขึ้นไปยังบริเวณยอดแหลมของพีระมิด แล้วพุ่งออกไปตรงบริเวณยอดแหลมสู่อวกาศ ทำให้ภายในมหาพีระมิด มีเส้นแรงแม่เหล็กเหลืออยู่น้อยมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ สสารวัตถุที่อยู่ภายในพีระมิดจึงไม่ถูกเส้นแรงแม่เหล็กรบกวนเหมือนกับสสารวัตถุที่อยู่ภายนอกพีระมิด ดังนั้นวัตถุที่อยู่ภายในมหาพีระมิดจึงมีอัตราการ เสื่อมสลายช้ากว่าวัตถุที่อยู่ภายนอกพีระมิดมาก
      การทดลองทางวิทยาศาสตร์ของรูปทรงพีระมิดที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการชะลอการเสื่อมสลายของวัตถุธาตุต่างๆ ได้ ทดลองโดยวางเนื้อหมูดิบไว้ภายในพีระมิดจำลอง 6 วัน พบว่าเนื้อหมูได้เหือดแห้งไปโดยไม่เน่าเปื่อยและสามารถนำมาปรุงอาหารได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะนอกจากรูปทรงพีระมิดได้หักเหเส้นแรงแม่เหล็กไม่ให้รบกวนอะตอมและโมเลกุลของเนื้อหมู แล้วเนื้อหมูยังได้รับพลังลมปราณที่ถูกพีระมิดเหนี่ยวนำเข้ามาทำให้เนื้อหมูไม่เน่าเปื่อยอีกทั้งยังคงสภาพสามารถนำไปทำอาหารได้ 
อีกทั้งยังพบว่าพีระมิดสามารถทำสิ่งของบางชนิดที่เป็นของเก่าให้กลายเป็นของใหม่ได้ คือ การนำใบมีดโกนที่ถูกใช้แล้วเมื่อนำมาวางไว้ในพีระมิดจำลองพบว่ามีสิ่งมาลับใบมีดโกนให้คมขึ้นมาใหม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะโมเลกุลของโลหะที่นำมาทำใบมีดโกนนั้นเมื่อใช้งานไปมากๆโมเลกุลที่เรียงตัวกันอยู่อย่างเป็นระเบียบจะสูญเสียความเป็นระเบียบในการเรียงตัวไป ทำให้ใบมีดลดความคม เมื่อนำมาวางไว้ในพีระมิดจำลอง โมเลกุลของโลหะจะถูกเหนี่ยวนำให้จัดเรียงโมเลกุลให้เป็นระเบียบขึ้นใหม่ ทำให้ใบมีดกลับคมขึ้น ผู้สนใจนั่งสมาธิหลายคนได้ทดลองนั่งสมาธิภายในเต็นท์รูปทรงพีระมิดหลายครั้ง พบว่าพีระมิดช่วยให้เกิดสมาธิได้เร็วกว่าปกติ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสมองและจิตใจของผู้ทำสมาธิถูกรบกวนจากเส้นแรงแม่เหล็กน้อยลงทำให้จิตรวมตัวเกิดสมาธิได้ง่าย นอกเหนือจากปรากฏการณ์เกี่ยวกับพีระมิดที่ได้กล่าวมา ยังมีการทดสอบ ทดลองเกี่ยวกับพีระมิดอีกมากมายที่ไม่ได้นำมากล่าวถึง ซึ่งผลการทดลองที่ออกมามักจะเกิดผลในทางบวกกับสิ่งต่างๆที่ได้เข้าไปอยู่ในรูปทรงพีระมิด 
วรรณกรรม
         วรรณกรรมเด่นของอียิปต์โบราณแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
              1. วรรณกรรมเกี่ยวเนื่องกับศาสนา ได้แก่คัมภีร์ผู้ตาย คัมภีร์นี้มุ่งแสดงต่อเทพเจ้าโอซิริส เพื่อการเข้าสู่โลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์และสุขสบายเช่นอียิปต์โบราณ นอกจากนี้ยังมีบทสรรเสริญของพระเจ้าอเนโฮเต็ปที่ 4 ต่อเทพเจ้าอะตัน เป็นต้น
              2. วรรณกรรมไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ได้แก่งานสลักบันทึกเหตุการณ์ตามเสาหินหรือผนังปิรามิด เป็นต้น


ชลประทาน
              อียิปต์โบราณต้องพึ่งแม่น้ำไนล์เพื่อใช้ในการเพาะปลูกประมาณเมื่อ 4200 B.C. อียิปต์โบราณค้นพบวิธีเก็บกักน้ำและส่งน้ำเข้าพื้นที่ตอนในด้วยการขุดคูคลองระบายน้ำต่างระดับและทำทำนบกั้นน้ำ วิธีการดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นการริเริ่มการชลประทาน



ศิลปกรรม
         ศิลปกรรมแรกเริ่มมุ่งเพื่อรับใช้ศาสนาโดยการวาดหรือปั้นรูปเทพเจ้า นอกจากนี้ศิลปกรรมเด่นอื่นๆ ที่ควรกล่าวถึงได้แก่


              1. ภาพแกะสลัก (Sculpture) ได้แก่สฟิงซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หน้าปิรามิคของกษัตริย์คูฟู ลำตัวเป็นสิงโตหมอบมีความยาว 13 ฟุต กว้าง 8 ฟุต แกะสลักมาจากหิน
              สฟิงซ์ของอียิปต์ โดยทั่วไปทำหน้าที่เฝ้าวิหารและสุสานของกษัตริย์ ลำตัวเป็นสิงโตหมอบเพศผู้แสดงถึงอำนาจ มีทั้งศีรษะ มนุษย์และหัวสัตว์ ถ้าเป็นใบหน้าคนมักจะเป้นพระพักตร์ของเจ้าของสุสานนั้น แสดงถึงสติปัญญา ถ้าเป็นหัวสัตว์ ที่พบบ่อย ๆ คือ หัวเหยี่ยว เป็นสัญลักษณ์ของเทพฮอรัส และแกะตัวผู้ เป็นสัญลักษณ์ของเทพคนุม นอกจากนี้ สฟิงซ์ในประเทศอียิปต์ยังมีทั้งเรียงแถวยาวนับสิบ ๆ ตัว อย่างที่เฝ้าหน้าวิหารคาร์นัคในเมืองลักซอร์ หรือจะอยู่โดด ๆ ก็ได้
              2. รูปปั้นหรือรูปหล่อ (Statue) นิยมปั้นหรือหล่อเฉพาะครึ่งตัวบนของจักรพรรดิ์ เช่น รูปปั้นหรือรูปหล่อครึ่งตัวบนของพระนางฮัทเซฟซุทกษัตริย์ทัสโมสที่ 2 กษัตริย์อเมนโฮเต็ปที่ 4 และมเหสี กษัตริย์รามซีสที่ 2 เป็นต้น




จิตรกรรม

Print egypt.jpg

      งานจิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้ เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบ นอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากกว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว


ประติมากรรม

งานประติมากรรมของอียิปต์ จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม มีตั้งแต่รูปแกะสลักขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ เช่น หินแกรนิต หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์ หรือบางทีก็ เป็นหินอะลาบาสเตอร์ ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหินทราย นอกจากนี้ยังมีการทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย งานประติมากรรมขนาดเล็กมักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม หินลาปิสลาซูลี เซรามิค ฯลฯ
      ประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพบนผนัง บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น รูปเทพเจ้าหรือรูปฟาโรห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอีกด้วย ในที่นี้ทางเราจึงให้ข้อมูลครบถ้วน

เครื่องสำอางยุคอียิปต์โบราณ

       ชาวอียิปต์ยุคโบราณเมื่อกว่า5,000ปีก่อนรู้จักใช้สีทาเปลือกตา และขอบตาเพื่อความงามและเพื่อช่วยป้องกันแสงแดดเข้าตาสี นี้เป็นครีมข้นบดจากหินมาลาไคต์(malachite)แร่สีเขียวสดซึ่ง เป็นเกลือของทองแดง


      พระนางคลีโอพัตราก็ทรงปฏิบัติเช่นเดียวกับสตรีชาวอียิปต์ทั้ง หลายโดยทรงใช้ผงสีฟ้าสดที่บดจากหินลิปิสลาซูลี(lapislazuli) ทาหลังพระเนตรและใช้ผงหินมาลาไคต์สีเขียวทาขอบพระเนตร ด้านล่างทรงใช้ผงดินสีแดง(ผงดินสนิมเหล็ก)ทาพระโอษฐ์ และ พระปรางและใช้สารจากต้นเฮนนาทาฝ่าพระหัตถ์เพื่อให้เป็นสี ชมพูให้ดูเยาว์วัย

        เฮนนาเป็นสารย้อมสีน้ำตาลอมแดงทำจากต้นเฮนนาซึ่งเป็นไม้พุ่มที่ขึ้นอยู่ในประเทศอียิปต์หญิงชาวอียิปต์ยังใช้เฮนนาเป็นส่วนผสมสำหรับสีทาเล็บด้วยนอกจากนี้ผู้ชายชาวอียิปต์โบราณก็ใช้ผงเฮนนาย้มผม และเคราในสมัยกรีกโบราณกว่า2,000ปีมาแล้วถือว่าใบหน้าที่ขาวโพลนงามกว่าแก้มที่มีสีแดง
หญิงชาวกรีกจึงทาหน้าให้ขาวโพลนด้วย"เซอรูส"(ceruse) คือผงตะกั่วขาวผสมขี้ผึ้งไขสัตว์ น้ำมัน และไข่ขาวแต่สารตะกั่วเป็นอันตรายต่อร่างกาย ถ้าซึมผ่านผิวหนังจะทำให้เบื่ออาหารท้องไส้ปั่นป่วนมึนงงหายใจขัดแขนขาชาปวดศีรษะและบางครั้งถึงขั้นตาบอดและเสียชีวิตชาวโรมันที่ร่ำรวยทั้งหญิงและชายใช้ผงตะกั่วขาวทาหน้าใช้สีที่ทำจากตะกั่วแดงทาแก้มในศตวรรษที่ 1จักรพรรดิเนโรและมเหสีองค์ที่ 2 พระนามว่าปอปเปียต่างก็ทาพระพักตร์ด้วยสีจากตะกั่ว แต่ตอนกลางคืนจะพอกพระพักตร์ด้วยแป้งสาลีเปียกและน้ำนมลาเพื่อล้างพิษตะกั่ว




  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS